Digital Signage อย่างที่เราทราบกันว่า เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ หรือ ที่หลายคนอาจจะรู้จักในนาม ” ตู้คีออส ” โดยมีการออกแบบให้ดูทันสมัย และได้ถูกนำเข้ามาใช้ในแวดวงธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ กันอย่างแพร่หลาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานคือ การสร้างชื่อหรือแบรนด์, การสื่อสารและให้ข้อมูล, และการเพิ่มยอดขายหรือสร้างรายได้ ด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่สำคัญของสื่อประเภทนี้เป็นอย่างยิ่งก็คือ กลวิธีในการดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และวิธีการสื่อสารข้อความที่สำคัญ (Key Message) ไปยังผู้รับชมได้อย่างครบถ้วน แต่ทว่าเรากลับพบว่ารูปแบบในการนำเสนอข้อมูลของ Digital Signage ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นแทบจะไม่แตกต่างกันเลย โดยส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการนำเสนอ ข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, หรือวิดีโอประชาสัมพันธ์ไปยังผู้รับชมแต่เพียงเท่านั้น
Digital Signage ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย
Standalone System
- เป็นระบบที่ตัว Media player แต่ละตัวทำงานแยกออกจากกัน (Standalone) จึงทำให้ในการควบคุมการทำงานของ Media player ทั้งหมดในระบบนั้น ต้องทำทีละเครื่อง และการอัพเดตข้อมูล Content ต่างๆลง Media player นั้น ต้องอาศัยการ copy ข้อมูลจาก Computer ใส่ Memory card หรือ Flash drive แล้วนำไป update ลงบน Media player อีกที ซึ่งระบบประเภทนี้จะลงทุนน้อยกว่า แต่จะพบกับปัญหาความยุ่งยากในการใช้งาน, ใช้เวลานานในการอัพเดต Content แต่ละครั้ง, และการดูแลและอัพเกรดซอร์ฟแวร์ของอุปกรณ์ทำได้ยากเพราะต้องดูแล Media player กันทีละเครื่อง
Distributed System
- เป็นระบบที่ตัว Media player รับส่งข้อมูลกับตัว Media server ผ่านทางระบบ Network ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะ LAN, WAN, 3G หรืออื่นๆ โดย Media server ที่ส่งข้อมูลจะอยู่ที่ไหนก็ได้ จะคอยส่งข้อมูลมายัง Media player แล้วเก็บข้อมูลลงบนหน่วยความจำและนำข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงผลบนจอภาพที่เชื่อมต่ออยู่นั้นอีกที ซึ่งวิธีนี้ต้องอาศัยการวางระบบ Network ระหว่าง Client และ Server ที่ดี รวมถึงต้องอาศัยโปรแกรม Content Management System (CMS) มาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูล Content ต่างๆที่ถูกเก็บบน Server และควบคุมการจ่ายข้อมูลไปยังตัว Client ด้วย จึงทำให้ระบบประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและจัดการ Content ได้ง่าย และอัพเดต Content ต่างๆไปยัง Media player ได้รวดเร็ว
ระบบที่ใช้งานของ Digital Signage
Media player ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ยังคงใช้ PC หรือ mini PC เป็นอุปกรณ์ในการจัดการส่วนนี้อยู่ จึงมีข้อจำกัดทั้งทางด้านขนาด, การทนทานต่อสภาวะแดด ฝน ความชื้น และการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า หรือแม้ว่าผู้ให้บริการบางรายจะหันมาใช้ Signage Media Player (SMP) client เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณพิเศษ ซึ่งมีขนาดเล็กลง ประหยัดพื้นที่มากขึ้น มีความทนทางที่สูงขึ้น และลดการใช้พลังงานลงยิ่งกว่าเดิมแล้วก็ตาม แต่อุปกรณ์ SMP client ประเภทนี้ยังมีราคาที่สูงอยู่ (~10,000 บาทต่อเครื่อง) เนื่องจาก SMP client ยังคงใช้สถาปัตยกรรมตัวเดียวกับ PC อยู่ดี
Penta™ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้เป็น Platform เพื่อนำมาพัฒนาเป็น Medial Player ได้ PentaTM ใช้ซีพียูในตระกูล ARM เช่นเดียวกับอุปกรณ์มือถือและแท็บเล็ตทั่วไป จึงทำให้ตัวอุปกรณ์มีการใช้พลังงานที่น้อยลงกว่า Media Player อื่นๆ แต่ยังคงทำงานได้ประสิทธิภาพที่มากเทียบเท่ากับ PC แต่มีราคาอยู่ในระดับเพียงแค่ไม่กี่พันบาท ซึ่งต่ำกว่า Media Player ที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาดเป็นอย่างมาก และตัวอุปกรณ์ Penta ยังมีความทนทาน มีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก จึงง่ายต่อการติดตั้ง และสามารถจัดวางในพื้นที่ที่จำกัดได้โดยไม่กีดขวาง นอกจากนี้ ในหลายๆงานได้ รวมถึง PentaTM ยังมีพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆมากมาย ทั้ง USB, LAN, WiFi, SD card, AV out, VGA, HDMI, Optical ฯลฯ และยังสามารถอัพเกรดซอร์ฟแวร์ผ่านทาง Over-The-Air Upgrade Service (OTA) ได้อีกด้วย จึงทำให้สามารถรองรับการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ต่างๆในอนาคต อาทิ Touch-screen monitor เหล่านี้ได้ เป็นต้น